มาเดอค่ะ มาแวะเบิ่งก่อน เว็บบล็อกของอีหล้า.....ขอบคุณหลายๆที่มาให้กำลังใจ....โอกาสหน้าเจอกันใหม่สำบายดีค่า

slide show

เก็บมาฝาก


นาฬิกา

จำนวนผู้เข้าชม

blog counters

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบสุริยะ

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 จักรวาลและอวกาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบสุริยะ จำนวน 5 ชั่วโมง
วันที่ทำการสอนวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
1. มาตรฐาน ว 7.1เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี่และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัดชั้นปี/จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้

หลักฐาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง มฐ.ว7.1(1)
1.สามารถสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายลักษณะของระบบสุริยะได้

-กิจกรรมพัฒนาการคิด(แบบจำลอง)
จุดประสงค์นำทาง
1.อธิบายส่วนประกอบของระบบสุริยะได้
2.ตอบคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะได้

-การสืบค้นข้อมูลความหมาย ประเภทของดวงดาว
-การตอบคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะ

3.สาระการเรียนรู้
ระบบสุริยะ เป็นระบบของดวงดาว ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์บริวาร 8 ดวงได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ดวงดาวเหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์

4.กิจกรรมการเรียนรู้
-กระบวนการสืบสวนสอบสวน

ชั่วโมงที่1

กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับอวกาศและดวงดาวเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน เช่น
- ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆที่เรามองเห็นบนท้องฟ้าโน่น นักเรียนคิดว่ามันอยู่ที่ไหน
- เมื่อออกไปนอกโลกจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนรู้จักระบบสุริยะหรือไม่ ระบบสุริยะคืออะไร

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นสร้างความสนใจ
1. ครูให้นักเรียนหลับตาแล้วครูก็ค่อยๆเอาภาพดาวแต่ละดวงมาให้นักเรียนดูแล้วสนทนากับนักเรียนในประเด็นต่อไปนี้
- จากภาพนักเรียนคิดว่าเป็นภาพอะไร
- นักเรียนสังเกตจากสิ่งใดจึงคิดว่าเป็นภาพนั้น
2. ครูให้นักเรียนอ่านข้อมูลและร่วมกันสรุปความหมายของระบบสุริยะ

ชั่วโมงที่2
ขั้นสำรวจและค้นหา
1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 - 6 คนให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของระบบสุริยะ จากนั้นทำใบกำหนดงานกิจกรรมที่ 1 (สังเกตและตอบคำถาม)
2. ครูมอบหมายให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับดวงดาวในระบบสุริยะจากบทเรียนนี้กลุ่มละ 1 ดวง
3. ให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันสรุปสาระสำคัญของข้อมูลที่ทำการศึกษาและสืบค้นมา

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1. ให้นักเรียนทำใบกำหนดงานกิจกรรมที่2ระบบสุริยะ(แผนผังความคิด)

2. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปลักษณะเด่นของดวงดาวที่กลุ่มของตนเองศึกษา

3. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปได้ว่าระบบสุริยะเป็นระบบของดวงดาว ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์บริวาร 8 ดวงได้แก่ ดาวพุธ
ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ดวงดาวเหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์

4. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวพลูโตว่าดาวพลูโตเคยมีสถานะเป็นดาวเคราะห์แต่ในปัจจุบันได้ถูกจัดสถานะใหม่ให้เป็นดาวเคราะห์แคระเพราะว่ามีวงโคจรซ้อนทับกับดาวเนปจูนปัจจุบันจึงเหลือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงและถ้าใช้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ในการจำแนกดาวเคราะห์ ดาวพุธและดาวศุกร์จัดเป็นดาวเคราะห์วงในเพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าโลกส่วนดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์วงนอกเพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก

5. ครูให้นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับดวงดาวในระบบสุริยะที่ได้ไปสืบค้นข้อมูลมาเขียนลงในใบกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้จากนั้นร่วมกันเฉลย

ชั่วโมงที่3

ขั้นขยายความรู้
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับดาวเคราะห์จากนั้นตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านกลุ่มละ 2 คำถามครูสุ่มเรียกนักเรียนทีละกลุ่มให้ถามคำถามเพื่อนโดยเลือกว่าจะถามกลุ่มไหน(ห้ามซ้ำกัน)
2. นักเรียนในชั้นร่วมกันอภิปรายว่าการศึกษาระบบสุริยะมีประโยชน์อย่างไร จากนั้นร่วมกันสรุปเป็นองค์ความรู้
ขั้นประเมิน
1. ครูให้นักเรียนอธิบายความหมายส่วนประกอบของระบบสุริยะและแบบทดสอบที่1เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

เตรียมล่วงหน้า

ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะเพื่อออกแบบระบบสุริยะจำลองโดยร่างแบบลงในสมุดและกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองแล้วนำเสนอแบบร่างกับครูเพื่อให้ครูแนะนำและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานมาในครั้งต่อไป

ชั่วโมงที่4-5

กิจกรรมรวบยอด
1. ครูแจ้งนักเรียนว่าให้นักเรียนสร้างแบบจำลองระบบสุริยะทำเพื่อเก็บคะแนนสะสมจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มนำวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมมาสร้างแบบจำลองระบบสุริยะ
2. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแบบจำลองระบบสุริยะของกลุ่มพร้อมทั้งอธิบายลักษณะของระบบสุริยะ
3. ครูให้นักเรียนรวบรวมแบบจำลองส่งครู
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพระบบสุริยะ
2. แบบทดสอบก่อนเรียน
3. หนังสือวิทยาศาสตร์ป.4
4. ใบกำหนดงานกิจกรรมที่1 /2
5. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำแบบจำลอง

6. การวัดและประเมินผล
6.1 ประเมินผลจากแบบจำลองระบบสุริยะ
6.2 ประเมินผลจากแบบทดสอบ
6.3 ประเมินผลจากใบกำหนดงานกิจกรรมที่1 และ2
7. กิจกรรมเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น