มาเดอค่ะ มาแวะเบิ่งก่อน เว็บบล็อกของอีหล้า.....ขอบคุณหลายๆที่มาให้กำลังใจ....โอกาสหน้าเจอกันใหม่สำบายดีค่า

slide show

เก็บมาฝาก


นาฬิกา

จำนวนผู้เข้าชม

blog counters

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา เรื่อง กระบวนการเกิดดิน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ดินในท้องถิ่นของเรา เวลา 11 ชั่วโมง
เรื่อง กระบวนการเกิดดิน เวลา 1 ชั่วโมง
ผู้สอน นางสาวสิรินธร พรมชาติ โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช)

1.มาตรฐานการเรียนรู้ ว6.1 เข้าใจกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนผิวโลกความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศภูมิประเทศและสัณฐานของโลกมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

2.สาระสำคัญ
ดินเป็นวัสดุธรรมชาติหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยกระบวนการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆรวมกับอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสซึ่งเป็นซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังและเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก

3.สาระการเรียนรู้
3.1 กระบวนการเกิดดิน
3.2ส่วนประกอบของดิน

4.ตัวชี้วัดชั้นปี/จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
อธิบายกระบวนการเกิดดินได้
จุดประสงค์นำทาง
นักเรียนสืบค้นข้อมูลกระบวนการเกิดดินได้
นักเรียนทดลองและบอกส่วนประกอบของดินได้

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นสร้างความสนใจ
1.ครูแจ้งจุดประสงค์ให้นักเรียนทราบว่า
15นาที แรกนักเรียนแต่ละกลุ่มออกไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดดินและส่วนประกอบของดินในบอร์ดที่ครูเตรียมไว้แล้วจดบันทึก
15นาที หลังนักเรียนจะได้ทำการทดลองเกี่ยวกับส่วนประกอบของดินและตอบคำถามในเรื่องกระบวนการเกิดดิน
2.ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างดินและบอร์ดภาพที่เกี่ยวกับดิน
3.ครูกับนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับดินด้วยคำถาม
3.1นักเรียนรู้จักดินหรือไม่
3.2ดินคืออะไร
3.3ดินเกิดมาได้อย่างไร
3.4ดินมีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง

ขั้นสำรวจและค้นหา
1.ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มด้วยวิธีจับสลาก 5กลุ่ม
2.นักเรียนแต่ละกลุ่มออกไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดดินและส่วนประกอบของดินในบอร์ดที่ครูเตรียมไว้แล้วจดบันทึก
3.นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม 5 กลุ่มตามเดิม
4.ครูชี้แจงการทดลองและให้ตัวแทนนักเรียนออกมารับอุปกรณ์การทดลองจากครู
กลุ่มละ 1 ชุด

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
ครูให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้และผลการทดลองของตนเอง
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า ดินเป็นวัสดุธรรมชาติหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยกระบวนการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆรวมกับอินทรียวัตถุหรือฮิวมัสซึ่งเป็นซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพังและเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก
ขั้นประเมิน
1.ประเมินจากการสังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม
2.ประเมินจากใบกิจกรรมที่1เรื่อง กระบวนการเกิดดิน
และผลการทดลองส่วนประกอบของดิน
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. บอร์ดเรื่องกระบวนการเกิดดินและส่วนประกอบของดิน
2. อุปกรณ์การทดลอง(ดิน ไม้จิ้มฟัน กระป๋อง กระดาษหนังสือพิมพ์ แว่นขยาย)
3. ใบกิจกรรมที่1เรื่องกระบวนการเกิดดิน


ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่องส่วนประกอบของดิน
ชื่อ .......................................................................ชั้น .................เลขที่…………..
วันที่ .................. เดือน.........................................พ.ศ. ......................
จุดประสงค์ เพื่อศึกษาส่วนประกอบของดิน
ปัญหา เนื้อดินที่นำมาศึกษามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
คาดคะเนคำตอบของปัญหา(สมมุติฐาน)
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ผลการทดลอง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ตัวอย่างดิน(บอกบริเวณที่นำมาศึกษา)
ผลการสังเกตส่วนประกอบของเนื้อดิน

ตอบคำถามต่อไปนี้

1.ดินตัวอย่างที่นำมาศึกษามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.ผลการทดลองของกลุ่มเหมือนหรือต่างจากกลุ่มอื่นหรือไม่อย่างไร(ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่น)
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................3.จากผลการทดลองพบสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในดินตัวอย่างหรือไม่ถ้าพบให้ระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นด้วย(ถ้าบอกได้)
......................................................................................................................................................................................................................................................................................4.การทดลองนี้สอดคล้องกับสมมุติฐานที่กำหนดไว้หรือไม่
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สรุปผลการทดลอง
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบสุริยะ

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 จักรวาลและอวกาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบสุริยะ จำนวน 5 ชั่วโมง
วันที่ทำการสอนวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
1. มาตรฐาน ว 7.1เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซี่และเอกภพ การปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
2. ตัวชี้วัดชั้นปี/จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์การเรียนรู้

หลักฐาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน
จุดประสงค์ปลายทาง มฐ.ว7.1(1)
1.สามารถสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายลักษณะของระบบสุริยะได้

-กิจกรรมพัฒนาการคิด(แบบจำลอง)
จุดประสงค์นำทาง
1.อธิบายส่วนประกอบของระบบสุริยะได้
2.ตอบคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะได้

-การสืบค้นข้อมูลความหมาย ประเภทของดวงดาว
-การตอบคำถามเกี่ยวกับระบบสุริยะ

3.สาระการเรียนรู้
ระบบสุริยะ เป็นระบบของดวงดาว ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์บริวาร 8 ดวงได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ดวงดาวเหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์

4.กิจกรรมการเรียนรู้
-กระบวนการสืบสวนสอบสวน

ชั่วโมงที่1

กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับอวกาศและดวงดาวเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน เช่น
- ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆที่เรามองเห็นบนท้องฟ้าโน่น นักเรียนคิดว่ามันอยู่ที่ไหน
- เมื่อออกไปนอกโลกจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนรู้จักระบบสุริยะหรือไม่ ระบบสุริยะคืออะไร

กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นสร้างความสนใจ
1. ครูให้นักเรียนหลับตาแล้วครูก็ค่อยๆเอาภาพดาวแต่ละดวงมาให้นักเรียนดูแล้วสนทนากับนักเรียนในประเด็นต่อไปนี้
- จากภาพนักเรียนคิดว่าเป็นภาพอะไร
- นักเรียนสังเกตจากสิ่งใดจึงคิดว่าเป็นภาพนั้น
2. ครูให้นักเรียนอ่านข้อมูลและร่วมกันสรุปความหมายของระบบสุริยะ

ชั่วโมงที่2
ขั้นสำรวจและค้นหา
1. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ 5 - 6 คนให้แต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของระบบสุริยะ จากนั้นทำใบกำหนดงานกิจกรรมที่ 1 (สังเกตและตอบคำถาม)
2. ครูมอบหมายให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับดวงดาวในระบบสุริยะจากบทเรียนนี้กลุ่มละ 1 ดวง
3. ให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันสรุปสาระสำคัญของข้อมูลที่ทำการศึกษาและสืบค้นมา

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
1. ให้นักเรียนทำใบกำหนดงานกิจกรรมที่2ระบบสุริยะ(แผนผังความคิด)

2. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาสรุปลักษณะเด่นของดวงดาวที่กลุ่มของตนเองศึกษา

3. นักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปได้ว่าระบบสุริยะเป็นระบบของดวงดาว ประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์บริวาร 8 ดวงได้แก่ ดาวพุธ
ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ซึ่งเป็นบริวารของดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหาง ดวงดาวเหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์

4. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวพลูโตว่าดาวพลูโตเคยมีสถานะเป็นดาวเคราะห์แต่ในปัจจุบันได้ถูกจัดสถานะใหม่ให้เป็นดาวเคราะห์แคระเพราะว่ามีวงโคจรซ้อนทับกับดาวเนปจูนปัจจุบันจึงเหลือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 8 ดวงและถ้าใช้ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ในการจำแนกดาวเคราะห์ ดาวพุธและดาวศุกร์จัดเป็นดาวเคราะห์วงในเพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าโลกส่วนดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์วงนอกเพราะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าโลก

5. ครูให้นักเรียนนำความรู้เกี่ยวกับดวงดาวในระบบสุริยะที่ได้ไปสืบค้นข้อมูลมาเขียนลงในใบกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้จากนั้นร่วมกันเฉลย

ชั่วโมงที่3

ขั้นขยายความรู้
1. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับดาวเคราะห์จากนั้นตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านกลุ่มละ 2 คำถามครูสุ่มเรียกนักเรียนทีละกลุ่มให้ถามคำถามเพื่อนโดยเลือกว่าจะถามกลุ่มไหน(ห้ามซ้ำกัน)
2. นักเรียนในชั้นร่วมกันอภิปรายว่าการศึกษาระบบสุริยะมีประโยชน์อย่างไร จากนั้นร่วมกันสรุปเป็นองค์ความรู้
ขั้นประเมิน
1. ครูให้นักเรียนอธิบายความหมายส่วนประกอบของระบบสุริยะและแบบทดสอบที่1เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

เตรียมล่วงหน้า

ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะเพื่อออกแบบระบบสุริยะจำลองโดยร่างแบบลงในสมุดและกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองแล้วนำเสนอแบบร่างกับครูเพื่อให้ครูแนะนำและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานมาในครั้งต่อไป

ชั่วโมงที่4-5

กิจกรรมรวบยอด
1. ครูแจ้งนักเรียนว่าให้นักเรียนสร้างแบบจำลองระบบสุริยะทำเพื่อเก็บคะแนนสะสมจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มนำวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมมาสร้างแบบจำลองระบบสุริยะ
2. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแบบจำลองระบบสุริยะของกลุ่มพร้อมทั้งอธิบายลักษณะของระบบสุริยะ
3. ครูให้นักเรียนรวบรวมแบบจำลองส่งครู
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. ภาพระบบสุริยะ
2. แบบทดสอบก่อนเรียน
3. หนังสือวิทยาศาสตร์ป.4
4. ใบกำหนดงานกิจกรรมที่1 /2
5. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำแบบจำลอง

6. การวัดและประเมินผล
6.1 ประเมินผลจากแบบจำลองระบบสุริยะ
6.2 ประเมินผลจากแบบทดสอบ
6.3 ประเมินผลจากใบกำหนดงานกิจกรรมที่1 และ2
7. กิจกรรมเสนอแนะ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องเซลล์สุริยะ

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องเซลล์สุริยะ จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 16 ธันวาคม 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
1.สาระสำคัญ เซลล์สุริยะคืออุปกรณ์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยรับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า
2.สาระการเรียนรู้
เซลล์สุริยะ
1. ความหมายของเซลล์สุริยะ
2. ข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะ
3. สิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้เซลล์สุริยะ

3.จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
อธิบายความหมายของเซลล์สุริยะได้
จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายความหมายของเซลล์สุริยะได้
2. เขียนข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะได้
3. ยกตัวอย่างเครื่องใช้ที่ใช้เซลล์สุริยะได้

4.กระบวนการเรียนรู้
1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
- นักเรียนรู้จักและเคยเห็นเซลล์สุริยะหรือไม่
- นักเรียนคิดว่าอุปกรณ์ใดบ้างที่ใช้แผงเซลล์สุริยะ
- นักเรียนคิดว่าเซลล์สุริยะมีข้อดีหรือข้อเสียหรือไม่ อย่างไร
ครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอุปกรณ์ต่างๆที่มี เซลล์สุริยะ
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขั้นที่1ขั้นวางแผน
- สมาชิกกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรม
ขั้นที่2ปฏิบัติตามแผน
- ตัวแทนกลุ่มมารับแผงเซลล์สุริยะจากครู
- ครูให้นักเรียนสังเกตอุปกรณ์ที่ได้แล้ววาดภาพและให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าถ้าแสงเคลื่อนที่มายังเซลล์สุริยะแล้วเราจะนำพลังงานที่ได้มาใช้ได้อย่างไรและมันมีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไร
ขั้นที่3อธิบายขยายความรู้
ถามนักเรียนและอธิบายประกอบภาพ
- นักเรียนคิดว่าเซลล์สุริยะมีประโยชน์อย่างไร
- อุปกรณ์ที่นักเรียนเคยเห็นมีอะไรบ้างที่ใช้เซลล์สุริยะและนักเรียนจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
- แต่ละกลุ่มระดมความคิดในเรื่องดังกล่าว
- ครูให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดและผู้คิดค้นเซลล์สุริยะ
ขั้นที่5สรุป
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า เซลล์สุริยะคืออุปกรณ์ที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าโดยรับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเซลล์สุริยะประกอบด้วยสารที่มีส่วนประกอบของสารกึ่งตัวนำเช่นซิลิคอน เมื่อแสงอาทิตย์มากระทบแผ่นเซลล์สุริยะจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าระหว่างชั้นซิลิคอนไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งสามารถเก็บสะสมพลังงานไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานได้

5.สื่อการสอน/แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.4
2. ภาพเซลล์สุริยะ
3. อุปกรณ์ที่ใช้เซลล์สุริยะ
4.ใบกิจกรรมที่1เรื่องเซลล์สุริยะ

6.การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายความหมายของเซลล์สุริยะด้วยการตรวจผลการอธิบายความหมายของเซลล์สุริยะตามการถาม-ตอบโดยยึดเกณฑ์ได้
2.วัดผลการเขียนข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะใบกำหนดงานที่1โดยยึดเกณฑ์ได้
3.วัดผลการยกตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้เซลล์สุริยะตามใบกำหนดงานที่1โดยยึดเกณฑ์ได้

7.ประเมินผล
1.ประเมิลผลการอธิบายความหมายของเซลล์สุริยะพบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของเซลล์สุริยะไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2.ประเมิลผลการเขียนข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะพบว่านักเรียน.....คนเขียนข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะไม่ได้แก้ไขด้วยการให้นักเรียนในชั้นช่วยเขียนให้ดูให้ฟัง
3.ประเมิลผลการยกตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้เซลล์สุริยะพบว่านักเรียน.....คนยกตัวอย่างสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้เซลล์สุริยะไม่ได้แก้ไขด้วยการให้ดูภาพหรือสื่ออีกรอบ

บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบกำหนดงานที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เรื่องเซลล์สุริยะ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนข้อดีและข้อจำกัดของเซลล์สุริยะมาให้มากที่สุด
( Mind mapping )

คำชี้แจง ให้นักเรียนวาดภาพอุปกรณ์ที่ใช้เซลล์สุริยะมาคนละ 1 ชิ้นให้สวยที่สุดพร้อมระบายสี

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง รุ้งกินน้ำ

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง รุ้งกินน้ำ จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 14 ธันวาคม 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
มาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ รุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมบัติของแสงเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกันจะทำให้เกิดการหักเหของแสง

สาระการเรียนรู้
รุ้งกินน้ำ
1. ความหมายของรุ้งกินน้ำ
2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำ
3. ทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำ

จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
อธิบายการเกิดรุ้งกินน้ำได้

จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายความหมายของรุ้งกินน้ำได้
2. บอกปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำได้
3. ทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำได้

กระบวนการเรียนรู้

1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 6กลุ่มด้วยวิธีนับ
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-สิ่งที่ให้แสงสว่างที่ใหญ่ที่สุดเราเรียกว่าอะไร
- แสงอาทิตย์มีสีหรือไม่
- เมื่อแสงขาวไปกระทบกับตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกันเช่นอากาศกับน้ำก็จะเกิดการหักเหก็จะเกิดการสะท้อนกลับหมดก็จะเกิดแถบสี.........สีอะไรบ้าง.............แถบสีนี้เราเรียกว่า..............(สเปกตรัมของแสงอาทิตย์)
- ปรากฏการณ์เช่นนี้เราเรียกว่า.....................
- รุ้งกินน้ำคืออะไร
- เกิดขึ้นจากสิ่งใด
- แล้วจะเกิดขึ้นในทิศทางใด
1.3 อธิบายความหมายของรุ้งกินน้ำแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนเขียนลงในใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1เรื่องรุ้งกินน้ำ
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขั้นที่1การจัดกลุ่ม
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม6กลุ่มเท่าๆกัน
ขั้นที่2ขั้นวางแผน
- สมาชิกกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรม
ขั้นที่3ปฏิบัติตามแผน
- ตัวแทนกลุ่มมารับปริซึมและสเปรย์จากครู
- ครูให้นักเรียนสังเกตอุปกรณ์และเตรียมความพร้อมในการเรียนนอกห้องเรียน
ขั้นที่4อธิบายขยายความรู้
ถามนักเรียนและอธิบายประกอบภาพ
- จากการทดลองนักเรียนเห็นรุ้งกินน้ำหรือไม่
- เห็นครบทั้ง7สีหรือไม่
- นอกจากละอองน้ำจากสเปรย์และปริซึมแล้วอะไรที่ทำให้นักเรียนเห็นสีรุ้งบ้าง
- สเปกตรัมของแสงที่เราเห็นก็เป็นการแยกคลื่นออกตามความถี่ของแสงและความยาวคลื่นแสงแสงสีม่วงมีความถี่สูง(ความยาวคลื่นสั้นที่สุด)และแสงสีแดงมีความถี่ต่ำสุด(ความยาวคลื่นมากที่สุด)

ขั้นที่5สรุป
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าเมื่อแสงขาวเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกัน ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนเราเรียกว่าการหักเหของแสงและกระจายออกเป็นแถบสี7สีมี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดงเราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่ารุ้งกินน้ำ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำนี้มีอยู่3ปัจจัยคือแสงจากดวงอาทิตย์ จำนวนละอองน้ำต้องมากพอ แสงมุมที่ตกกระทบต้องพอเหมาะ

5.สื่อการสอน/แหล่งเรียนรู้
1.หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.4
2.ภาพรุ้งกินน้ำ
3.สเปรย์ ปริซึม
4.ใบกิจกรรมที่1เรื่องรุ้งกินน้ำ

6.การวัดผล
1. วัดผลการอธิบายความหมายของรุ้งกินน้ำด้วยการตรวจผลการอธิบายความหมายของเลนส์ตามการตอบคำถามโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2. วัดผลการบอกปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำจากใบกำหนดงานที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
3. วัดผลการทดลองการเกิดรุ้งกินน้ำด้วยการถาม-ตอบและใบกำหนดงานที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

7.ประเมินผล
1. ประเมิลผลการอธิบายความหมายรุ้งกินน้ำพบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของรุ้งกินน้ำไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2. ประเมิลผลการบอกปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำพบว่านักเรียน.....คนบอกปัจจัยที่ทำให้เกิดรุ้งกินน้ำไม่ได้แก้ไขด้วยการให้นักเรียนในชั้นช่วยบอกให้ฟัง

บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1เรื่องรุ้งกินน้ำ
คำชี้แจง ให้นักเรียนวาดภาพรุ้งกินน้ำที่นักเรียนเห็นแล้วระบายสีให้สวยงามพร้อมบรรยายภาพและตั้งชื่อภาพ
รุ้งที่เกิดจากสเปรย์


รุ้งที่เกิดจากปริซึม

สรุปผลการทดลอง.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2เรื่องรุ้งกินน้ำ
คำชี้แจง พิจารณาสถานการณ์ที่กำหนดให้แล้ววิเคราะห์หาคำตอบ
น้องเมย์ไปเที่ยวน้ำตกเก้าโจนขณะที่นั่งชมน้ำตกอยู่นั้นน้องเมย์ก็มองไปเห็นรุ้งกินน้ำบริเวณใกล้น้ำตก
1.จากสถานการณ์นักเรียนคิดว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่เพราะอะไร
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.จากสถานการณ์นี้ต้องประกอบไปด้วยปัจจัยใดบ้าง
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องการหักเหของแสงผ่านเลนส์

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องการหักเหของแสงผ่านเลนส์ จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 2 ธันวาคม 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
มาตรฐาน ว 5.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
1.สาระสำคัญ เลนส์คือ แก้วโปร่งใสหรือพลาสติกโปร่งใสมีผิวโค้งหนึ่งผิวหรือสองผิวซึ่งมีสมบัติในการหักเหลำแสงบริเวณตรงกลางเลนส์และขอบเลนส์มีความหนาแตกต่างกันผู้เรียนควรเรียนรู้ความหมายของเลนส์ ชนิดของเลนส์ ประโยชน์และการเลือกใช้เลนส์และการทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์
2.สาระการเรียนรู้
การหักเหของแสงผ่านเลนส์
1. ความหมายของเลนส์
2. ชนิดของเลนส์
3. ประโยชน์และการเลือกใช้เลนส์
4. การทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์

3.จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
อธิบายการหักเหของแสงผ่านเลนส์ได้
จุดประสงค์นำทาง
1. อธิบายความหมายของเลนส์ได้
2. จำแนกชนิดของเลนส์ได้
3. บอกประโยชน์และการเลือกใช้เลนส์ได้
4. ทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์ได้

4.กระบวนการเรียนรู้
1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-นักเรียนรู้จักและเคยเห็นแว่นตาหรือไม่
-กระจกแว่นตาทำจากอะไร
-กระจกแว่นตาเป็นตัวกลางประเภทใด
ครูให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างอุปกรณ์ต่างๆที่มีเลนส์เป็นส่วนประกอบ(แว่นขยาย กล้องถ่ายรูป กล้องโทรทัศน์ กล้องส่องทางไกล)
1.3 อธิบายความหมายของเลนส์และชนิดของเลนส์แล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนเขียนลงในสมุด
2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขั้นที่1การจัดกลุ่ม
- ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม6กลุ่มเท่าๆกัน
ขั้นที่2ขั้นวางแผน
- สมาชิกกลุ่มร่วมกันวางแผนการทำกิจกรรม
ขั้นที่3ปฏิบัติตามแผน
-ตัวแทนกลุ่มมารับเลนส์เว้ากับเลนส์นูนจากครู
-ครูให้นักเรียนสังเกตลักษณะเลนส์และเปรียบเทียบกันจากนั้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านเลนส์ทั้งสองนี้จะมีการหักเหแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ขั้นที่4อธิบายขยายความรู้
ถามนักเรียนและอธิบายประกอบภาพ
-นักเรียนคิดว่าเลนส์มีประโยชน์อย่างไร
-การเลือกใช้เลนส์นักเรียนคิดว่าถ้าคนสายตาสั้นควรตัดแว่นที่มีเลนส์ชนิดใด
-การเลือกใช้เลนส์นักเรียนคิดว่าถ้าคนสายตายาวควรตัดแว่นที่มีเลนส์ชนิดใด
-แต่ละกลุ่มทำการทดลองและบันทึกผล

ขั้นที่5สรุป
-ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกัน ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนและมองเห็นวัตถุนั้นผิดไปจากเดิมเราเรียกว่าการหักเหของแสง
-ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่าเลนส์คือ แก้วโปร่งใสหรือพลาสติกโปร่งใสมีผิวโค้งหนึ่งผิวหรือสองผิวซึ่งมีสมบัติในการหักเหลำแสงบริเวณตรงกลางเลนส์และขอบเลนส์มีความหนาแตกต่างกันซึ่งเลนส์มี2ชนิดคือเว้าและนูน
คนสายตาสั้นควรใส่แว่นที่ทำจากเลนส์เว้าส่วนคนสายตายาวควรใส่แว่นที่ทำจากเลนส์นูน
-เลนส์นูนจะรวมแสงส่วนเลนส์เว้าจะกระจายแสง

5.สื่อการสอน/แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.4
2. ภาพการหักเหของแสงผ่านเลนส์
3. เลนส์เว้าและเลนส์นูน
4. ใบกิจกรรมที่1การหักเหของแสงผ่านเลนส์

6.การวัดผล
1. วัดผลการอธิบายความหมายของเลนส์ด้วยการตรวจผลการอธิบายความหมายของเลนส์ตามการตอบคำถามโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2. วัดผลการจำแนกชนิดของเลนส์จากใบกำหนดงานที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
3. วัดผลการบอกประโยชน์และการเลือกใช้เลนส์ด้วยการถาม-ตอบและใบกำหนดงาน
ที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

7.ประเมินผล
1. ประเมิลผลการอธิบายความหมายของเลนส์พบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของเลนส์ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2. ประเมิลผลการจำแนกชนิดของเลนส์พบว่านักเรียน.....คนจำแนกชนิดของเลนส์ไม่ได้แก้ไขด้วยการให้นักเรียนในชั้นช่วยจำแนกให้ฟัง
3. ประเมิลผลการทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์พบว่านักเรียน.....คนทดลองการหักเหของแสงผ่านเลนส์ไม่ได้แก้ไขด้วยการทำการทดลองให้ดูอีกรอบ

บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบกิจกรรมที่1การหักเหของแสงผ่านเลนส์
จุดประสงค์ เพื่อศึกษาการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูนและเลนส์เว้า
อุปกรณ์
1.เลนส์นูน 1 อัน
2.เลนส์เว้า 1 อัน
3.กระดาษสีดำ
4.ไฟฉาย
วิธีทำ
1.ให้ทำการทดลองในห้องเรียนโดยนำกระดาษสีดำวางบนพื้นแล้วยกเลนส์นูนขึ้นรับแสงโดยให้แนวลำแสงผ่านเลนส์ลงบนกระดาษสีดำแล้วสังเกตแนวลำแสงบนกระดาษ
2.ทำเหมือนข้อ1 แต่ให้เปลี่ยนเป็นเลนส์เว้า
บันทึกผล
วาดภาพเมื่อแสงผ่านเลนส์นูน วาดภาพเมื่อแสงผ่านเลนส์เว้า
สรุปผลการทดลอง
1.เมื่อนำเลนส์นูนรับแสงลำแสงในกระดาษมีลักษณะอย่างไร
...........................................................................................................................................
2.เมื่อนำเลนส์เว้ารับแสงลำแสงในกระดาษมีลักษณะอย่างไร
...........................................................................................................................................
3.ลำแสงเมื่อผ่านเลนส์นูนและเลนส์เว้ามีลักษณะเหมือนกัน หรือ ต่างกัน
คือ......................................................................................................................................................................................................................................................................................

แบบประเมินผลงานสมุดบันทึกความรู้
กลุ่มที่(ชื่อกลุ่ม)...............................................................................................................
สมาชิกในกลุ่ม
1. 2.
3. 4.
5. 6.
7. 8.

คำชี้แจง: ให้ผู้ประเมินขีด /ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน (ตามเกณฑ์)
ประเด็นที่ประเมิน
ผู้ประเมิน
ตนเอง
เพื่อน
ครู
4
3
2
1
4
3
2
1
4
3
2
1
1.ตรงจุดประสงค์ที่กำหนด

2.มีความถูกต้องสมบูรณ์

3.มีความคิดสร้างสรรค์

4.มีความเป็นระเบียบ

รวม

รวมทุกรายการ

เฉลี่ย



ผู้ประเมิน.......................................(ตนเอง)
ผู้ประเมิน.......................................(เพื่อน)
ผู้ประเมิน.......................................(ครู)





แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติการทดลอง
วิชา ชั้น
หน่วยการเรียนรู้ที่ กิจกรรม
คำชี้แจง: ให้ผู้สอนประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในการปฏิบัติกิจกรรม ทดลองโดยให้ระดับคะแนนลงในตารางที่ตรงกับพฤติกรรมของผู้เรียน
เกณฑ์การให้คะแนน 3 = ดี 2 = พอใช้ 1 = ต้องปรับปรุง



เลขที่
ชื่อ สกุล
รายการประเมิน
รวม12คะแนน
สรุปการประเมิน
วิธีดำเนินการทดลอง
การปฏิบัติการทดลอง
ความคล่องแคล่วในการทำการทดลอง
การนำเสนอ
คะแนนที่ทำได้
ผ่าน
ไม่ผ่าน


ลงชื่อ....................................ผู้ประเมิน
…../……./……







แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
กลุ่มที่(ชื่อกลุ่ม)..................................................................................................................
สมาชิกในกลุ่ม1. 2.
3. 4.
5. 6.
7. 8.


คำชี้แจง: ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริง
พฤติกรรมที่สังเกต
คะแนน
3
2
1
1.มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

2.มีความกระตือรือร้นในการทำงาน

3.รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

4.มีขั้นตอนในการทำงานอย่างเป็นระบบ

5.ใช้เวลาในการทำงานอย่างเหมาะสม

รวม

เกณฑ์การให้คะแนน
พฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ให้ 3 คะแนน
พฤติกรรมที่ทำเป็นบางครั้ง ให้ 2คะแนน
พฤติกรรมที่ทำน้อยครั้ง ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การให้คะแนน
ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
13-15
ดี
8-12
ปานกลาง
5-7
ปรับปรุง

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการหักเหของแสง

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการหักเหของแสง จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ

มาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ การหักเหของแสงคือการที่แสงเคลื่อนผ่านตัวกลางโปร่งใส2ชนิดที่แตกต่างกันและมีการเปลี่ยนแปลงแนวการเคลื่อนที่ของแสง ผู้เรียนควรเรียนรู้ความหมายของการหักเหของแสง กฎการหักเหของแสง การหักเหของแสงผ่านเลนส์ ชนิดของเลนส์ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงและการทดลองการหักเหของแสง

สาระการเรียนรู้
การหักเหของแสง
1. ความหมายของการหักเหของแสง
2. กฎการหักเหของแสง
3. ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสง
4. การทดลองการหักเหของแสง

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการหักเหของแสงได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายความหมายของการหักเหของแสงได้
2. นักเรียนบอกกฎการหักเหของแสงได้
3. นักเรียนบอกปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงได้
4. นักเรียนทดลองการหักเหของแสงได้

กระบวนการเรียนรู้

1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-นักเรียนรู้จักการหักเหของแสงหรือไม่
-นักเรียนเคยมองปลาผ่านตูกระจกหรือไม่
-นักเรียนเคยไปยืนในสระน้ำหรือไม่แล้วสังเกตขาตัวเองแตกต่างจากเดิมอย่างไร
-นักเรียนเคยเล่นเหรียญในน้ำหรือไม่ ลักษณะเหรียญเป็นอย่างไร
จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
1.3 อธิบายความหมายและกฎการหักเหของแสงและวาดรูปให้ดูแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนเขียนลงในสมุด

2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.1 ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม6กลุ่มเท่าๆกัน
2.2 ครูและนักเรียนร่วมกันทำการทดลองและบันทึกผลการทดลองลงในสมุด
2.3 นักเรียนร่วมกันนำข้อมูลที่ได้มาอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
3.1 นักเรียนส่งตัวแทน1คนมานำเสนอผลการทดลอง
3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าเมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศไปยังแก้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวการเคลื่อนที่ของแสง
3.3 ครูถามนักเรียนว่าอากาศและแก้วจัดเป็นตัวกลางชนิดใดซึ่งนักเรียนควรตอบได้ว่าตัวกลางโปร่งใส
3.4 นักเรียนสรุปหลักการหักเหของแสงพร้อมกันว่าเมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกัน ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนเรียกว่าการหักเหของแสงล

4.ขั้นขยายความรู้
1. ครูซักถามนักเรียนว่าการหักเหของแสงทำให้เกิดการมองเห็นภาพเปลี่ยนแปลงจากเดิมในลักษณะใดบ้าง
2. ครูซักถามนักเรียนว่านักเรียนเห็นเหรียญมีขนาดใหญ่เพราะอะไร
3. ครูซักถามนักเรียนว่านักเรียนเห็นปลาในน้ำอยู่ตื้นกว่าปกติเพราะว่าอะไร
4. ครูซักถามนักเรียนว่าเห็นหลอดที่อยู่ในแก้วงอผิดไปจากเดิมเพราะอะไร
5. ครูซักถามว่าปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงมีอะไรบ้าง

5. ขั้นสรุป
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกัน ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงเปลี่ยนและมองเห็นวัตถุนั้นผิดไปจากเดิมเราเรียกว่าการหักเหของแสง

6.การวัดผล
1. วัดผลการอธิบายความหมายของการหักเหของแสง จากการอธิบายในสมุดโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2. วัดผลการบอกกฎการหักเหของแสงจากการถามนักเรียนโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
3. วัดผลการบอกปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงจากการถามนักเรียนโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
4. วัดผลการทดลองการหักเหของแสงจากชิ้นงานและภาพที่นักเรียนวาดโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

ประเมินผล
1. ประเมิลผลการความหมายของการหักเหของแสง อธิบายพบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของการหักเหของแสง ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2. ประเมิลผลการบอกกฎการหักเหของแสงพบว่านักเรียน.....คนบอกกฎการหักเหของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
3. ประเมิลผลการบอกปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงพบว่านักเรียน.....คนบอกกฎการหักเหของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
4. ประเมิลผลการทดลองการหักเหของแสงพบว่านักเรียน.....คนทดลองการหักเหของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการทดลองอีกรอบ
สื่อการสอน
1.หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.4
2.อุปกรณ์การทดลอง

บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การสะท้อนของแสง

แผนการจัดการเรียนรู้

วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การสะท้อนของแสง จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ

มาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ การสะท้อนของแสงคือการที่แสงเปลี่ยนทิศการเคลื่อนที่กลับมาสู่ตัวกลางเดิมเมื่อแสงเคลื่อนที่ไปถึงแนวเขตระหว่างตัวกลาง2ตัวกลางโดยจะศึกษาความหมายของการสะท้อนของแสง กฎการสะท้อนของแสง การทดลองการสะท้อนของแสง

สาระการเรียนรู้

การสะท้อนของแสง
1. ความหมายของการสะท้อนของแสง
2. กฎการสะท้อนของแสง
3. การทดลองการสะท้อนของแสง

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการสะท้อนของแสงได้
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายความหมายของการสะท้อนของแสงได้
2. นักเรียนบอกกฎการสะท้อนของแสงได้
3. นักเรียนทดลองการสะท้อนของแสงได้

กระบวนการเรียนรู้
1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่ม
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-นักเรียนเคยเล่นสะท้อนแสงหรือไม่
-วัตถุชนิดใดที่สะท้อนแสงได้บ้าง
จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
1.3 อธิบายความหมายและกฎการสะท้อนของการสะท้อนของแสงแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนเขียนความหมายลงในสมุด

2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.1 ครูวาดรูปบนกระดาน แล้วถามนักเรียนว่า2มุมนี้เท่ากันหรือไม่และแต่ละเส้นนี้เรียกว่าอะไร
2.2 ครูอธิบายจากตัวอย่างที่วาดแล้วถามนักเรียนว่าเส้นที่แสงไฟส่องนี้เรียกว่ารังสีตกกระทบส่วนเส้นที่แสงออกมานั้นเรียกว่ารังสีสะท้อนและเส้นที่แบ่งครึ่งเราเรียกว่าเส้นปกติ
2.3 ครูเขียนบนกระดานให้นักเรียนจดลงสมุดว่า
ลำแสงตกกระทบ คือแนวลำแสงจากแหล่งกำเนิดที่กระทบวัตถุ
ลำแสงสะท้อน คือแนวลำแสงที่สะท้อนออกจากวัตถุ
เส้นปกติ คือเส้นที่ตั้งฉากกับผิววัตถุที่ตำแหน่งแนวลำแสงตกกระทบวัตถุ
มุมตกกระทบ คือมุมระหว่างแนวลำแสงตกกระทบกับเส้นปกติ
มุมสะท้อน คือมุมระหว่างแนวลำแสงสะท้อนกับเส้นปกติ
2.4 ครูวาดรูปให้นักเรียนดูแล้วถามนักเรียนว่านี่คือรูปอะไรแล้วแตกต่างกันตรงไหน
2.5 ครูอธิบายจากภาพ
2.6 ครูทดลองให้นักเรียนดูทีละกลุ่มแล้วให้นักเรียนบันทึกลงในตารางบันทึกผล

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
3.1 ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2 นักเรียนในชั้นร่วมกันอภิปรายและสรุปได้ว่า
-การทดลองเป็นไปตามกฎการสะท้อน
-วัตถุที่สะท้อนได้ดีคือวัตถุที่ทึบและมีผิวมันเรียบ
3.3 ครูอธิบายว่าถ้าวัตถุที่มีผิวมันเรียบจะสะท้อนเป็นระเบียบส่วนวัตถุที่ขรุขระจะสะท้อนไม่เป็นระเบียบ

4. ขั้นขยายความรู้
4.1 ครูอธิบายการสะท้อนของแสงทำให้มองเห็นวัตถุต่างๆได้จึงมีการนำหลักการสะท้อนของแสงมาใช้ประโยชน์เช่นการติดตั้งกระจกนูนตามทางแยกช่วยให้มองเห็นภาพสะท้อนได้กว้าง
4.2 มอบภาระงานให้นักเรียนทำตารางบันทึกผลการทดลองและวาดภาพ

5. ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนสรุปลงสมุดเกี่ยวกับความหมายของการสะท้อนและข้อแตกต่างระหว่างวัตถุที่มีผิวมันเรียบกับผิวขรุขระและผลการทดลอง

6.การวัดผล
1. วัดผลการอธิบายความหมายของการสะท้อนของแสงจากการบันทึกในสมุด โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2. วัดผลการบอกกฎการสะท้อนของแสงจากใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2 โดยยึดเกณฑ์
ได้ถูกต้อง
3. วัดผลการทดลองการสะท้อนของแสงจากใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

7.ประเมินผล
1. ประเมิลผลการอธิบายความหมายของการสะท้อนของแสง พบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของการสะท้อนของแสง ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2. ประเมิลผลการบอกกฎการสะท้อนของแสงพบว่านักเรียน.....คนการบอกกฎการสะท้อนของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
3. ประเมิลผลการทดลองการสะท้อนของแสงพบว่านักเรียน.....คนการทดลองการสะท้อนของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการทดลองให้ดู

สื่อการสอน
1. หนังสือวิทยาศาสตร์ ป.4
2. อุปกรณ์การทดลอง
3. ใบกำหนดงานที่1เรื่องการสะท้อนของแสง
บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………











ใบกำหนดงานที่1เรื่องการสะท้อนของแสง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
วัตถุที่ทำการทดลอง
ลักษณะแสงที่ปรากฏ
บนวัตถุ
บนกระดาษขาว
1.กระจกใส


2.ผ้าขนหนู


3.กระดาษแข็ง


4.กระดาษฟอยด์



ใบกำหนดงานที่ 2 เรื่องการสะท้อนของแสง
วาดภาพลำแสงเมื่อกระทบกระจกเงาและสะท้อนกลับ


สรุปผลการทดลอง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องตัวกลางของแสง

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องตัวกลางของแสง จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552

มาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ ตัวกลางคือสิ่งที่อยู่ระหว่างดวงตาของเรากับแหล่งกำเนิดแสงซึ่งแสงจะเดินทางผ่านตัวกลางชนิดต่างๆเช่น อากาศ กระจก ผ้า กระดาษ แผ่นไม้ ตัวกลางบางชนิดมีสมบัติในการยอมให้แสงผ่านต่างกันโดยเรียนรู้จากตัวกลางโปร่งใส ตัวกลางโปร่งแสง วัตถุทึบแสง

สาระการเรียนรู้
ตัวกลางของแสง
1. ความหมายของตัวกลาง
2. ประเภทของตัวกลาง
3. ทดลองชนิดของตัวกลาง

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายตัวกลางของแสงได้ถูกต้อง

จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายความหมายของตัวกลางของแสงได้ถูกต้อง
2. นักเรียนบอกประเภทของตัวกลางได้ถูกต้อง
3. นักเรียนทดลองชนิดของตัวกลางได้ถูกต้อง

กระบวนการเรียนรู้
1. กิจกรรมนำสู่บทเรียน
1.1 การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มด้วยวิธีนับ1-5
1.2 ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-ถ้าเอาถุงพลาสติกแบบขุ่นมาให้นักเรียนมองผ่านนักเรียนคิดว่าจะมองเห็นสิ่งต่างๆ แตกต่างกันหรือไม่
-ครูสุ่มนักเรียนออกมามองสิ่งต่างๆผ่านถุงทั้ง2ชนิดแล้วบอกเพื่อนว่าแตกต่างกันหรือไม่
-ถุงพลาสติกทั้ง 2ใบนี้เราเรียกมันว่าอะไร
-นักเรียนคิดว่าตัวกลางแต่ละชนิดมีสมบัติในการยอมให้แสงผ่านไปได้แตกต่างกันหรือไม่
1.3 อธิบายความหมายของตัวกลางของแสงแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนเขียนความหมายลงในสมุด

2.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2.1 ครูวาดรูปบนกระดาน 2 รูปแล้วถามนักเรียนว่าระหว่างรูป 2รูปนี้นักเรียนเห็นอะไร
2.2 ครูอธิบายจากตัวอย่างที่วาดแล้วถามนักเรียนว่าตัวกลางมีกี่ประเภทอะไรบ้างแล้วอธิบายเพิ่มเติม
2.3 ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนออกมาทำการทดลองร่วมกับครูเรื่องชนิดของตัวกลางโดยให้สมาชิกที่เหลือสังเกตแล้วจดบันทึก

3.ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
3.1 ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2 นักเรียนในชั้นร่วมกันอภิปรายและสรุปได้ว่า
ตัวกลางที่นำมากั้นแสงแล้วมองเห็นชัดเจนคือ..................
ตัวกลางที่นำมากั้นแสงแล้วมองเห็นบ้างคือ......................
ตัวกลางที่นำมากั้นแสงแล้วมองไม่เห็นคือ........................
3.3 ครูอธิบายว่าสมบัติของตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้ทั้งหมดคือ……………….
ตัวกลางที่ยอมให้แสงผ่านได้บ้างบางส่วนคือ......................
ตัวกลางที่ ไม่ยอมให้ผ่านคือ................................................

4.ขั้นขยายความรู้
4.1 ครูอธิบายวัตถุทึบแสงว่าเมื่อมันไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้แสงทั้งหมดก็จึงตกอยู่ที่วัตถุมันจึงเกิดเงาขึ้นตามรูปร่างของวัตถุนั้นๆ
4.2 ครูอธิบายเงามืดกับเงามัว
4.3 ครูพาทำมือเป็นรูปสัตว์ต่างๆพร้อมเพลงประกอบ

5. ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนสรุปลงสมุดเกี่ยวกับความหมาย ประเภทและผลการทดลอง

6.การวัดผล
1. วัดผลการอธิบายความหมายของตัวกลางของแสงจากการอธิบายในสมุด โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2. วัดผลการบอกประเภทของตัวกลาง จากการบอกในสมุดโดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
3. วัดผลการทดลองชนิดของตัวกลางจากใบกำหนดงานที่1เรื่องตัวกลางของแสง
โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

7.ประเมินผล
1. ประเมิลผลการอธิบายความหมายของตัวกลางของแสง พบว่านักเรียน.....คนอธิบายความหมายของตัวกลางของแสง ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2. ประเมิลผลการบอกประเภทของตัวกลาง พบว่านักเรียน.....คนบอกประเภทของตัวกลาง ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
3. ประเมิลผลการ ทดลองชนิดของตัวกลางพบว่านักเรียน.....คนทดลองชนิดของตัวกลาง ไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.1 หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ป.4
1.2 ประเด็นคำถาม
1.3 อุปกรณ์ในการทดลอง
บันทึกผลหลังสอน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ใบกำหนดงานที่1เรื่องตัวกลางของแสง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ชนิดของตัวกลาง
แสงผ่านตัวกลาง
ลักษณะของแสงที่ทะลุผ่านตัวกลางมา
ผ่านได้ดี
ผ่านได้บ้าง
ผ่านไม่ได้
1.กระจกใส

2.ผ้า

3.พลาสติกใส

4.กระจกฝ้า

5.แผ่นไม้

6.แผ่นกระดาษ

7.แก้วใส

บันทึกผลการทดลอง
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

แผนการสอน


แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) หน่วยการเรียนรู้ที่4 พลังงานแสง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด จำนวน 1 คาบ
วันที่ทำการสอนวันที่ 4 พฤศจิกายน 2552
ผู้สอน 1.นางสาวสิรินธร พรมชาติ
มาตรฐาน ว 5.1เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การแลกเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระสำคัญ แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยตา แสงอาจมีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติหรือจากอุปกรณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง
สาระการเรียนรู้
การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด
1. แหล่งกำเนิดแสง
2.การเดินทางของแสง

จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิดได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1.นักเรียนอธิบายแหล่งกำเนิดแสงได้ถูกต้อง
2.นักเรียนทดลองการเดินทางของแสงได้ถูกต้อง




กระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นอธิบายการแหล่งกำเนิดแสง
1.1การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มด้วยวิธีนับ1-5
1.2ทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการตั้งประเด็นคำถามดังนี้
-นักเรียนคิดว่าเรามองเห็นสิ่งต่างๆได้เพราะอะไร
-สิ่งที่ให้แสงสว่างเราเรียกว่าอะไร
-แหล่งกำเนิดแสงมาจากไหนบ้าง
1.3อธิบายแหล่งกำเนิดแสงและวาดภาพแหล่งกำเนิดแสงแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดลงในใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1เรื่องแหล่งกำเนิดแสงและกระดาษเอ4ที่ครูให้

ใบกำหนดงานที่1 เรื่องการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด

กิจกรรมที่1แหล่งกำเนิดแสง
ให้นักเรียนเขียนคำตอบที่ถูกต้องลงในตารางที่กำหนดให้
แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ
แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น

1.4ปฏิบัติภาระงานตามใบกำหนดงานที่1เรื่องแหล่งกำเนิดแสง
1.5นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนโดยส่งตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอ
1.6สะท้อนความคิดโดยการตั้งประเด็นคำถามขึ้นมาถามนักเรียนว่าสิ่งที่นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาอธิบายแหล่งกำเนิดแสงนั้น มีอะไรบ้าง
1.7ประเมินผล สรุปผล และเพิ่มเติมเนื้อหา

2ขั้นทดลองการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ
2.1การจัดทำนักเรียนโดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 5 กลุ่มด้วยวิธีนับ1-5
2.2นำเสนอสื่อโดยการนำอุปกรณ์การทดลองมาให้นักเรียนดู
2.3ทดลองการเดินทางของแสงแล้วกำหนดภาระงานให้นักเรียนทดลองแล้วสังเกตและบันทึกผลลงในใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2 เรื่องทดลองการเดินทางของแสง
ใบกำหนดงานที่1เรื่องการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด

กิจกรรมที่2ทดลองการการเดินทางของแสง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ลักษณะการตั้งแผ่นกระดาษ
ผลการสังเกตเปลวเทียนไขผ่านรูบนแผ่นกระดาษ

เห็น
ไม่เห็น
1.รูบนแผ่นกระดาษทั้ง 3 แผ่นตรงกัน


2.เมื่อเลื่อนแผ่นกระดาษแผ่นที่1


3.นำกระดาษแผ่นที่1ออก


4.เมื่อเลื่อนกระดาษแผ่นที่2


5.นำกระดาษแผ่นที่2ออก


6.เมื่อเลื่อนกระดาษแผ่นที่3


7.นำกระดาษแผ่นที่3ออก


สรุปผลการทดลอง......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.4ปฏิบัติภาระงานที่กำหนดร่วมกันตามใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2เรื่องทดลองการเดินทางของแสง
2.5นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนโดยส่งตัวแทนกลุ่มออกไปนำเสนอ
2.6สะท้อนความคิดโดยการตั้งประเด็นคำถามขึ้นมาถามนักเรียนว่านักเรียนต้องวางกระดาษอย่างไรจึงมองเห็นเปลวเทียนและทำอย่างไรจึงมองไม่เห็นเปลวเทียน
2.7 ประเมินผล สรุปผล และเพิ่มเติมเนื้อหา


การวัดผล
1.วัดผลการอธิบายแหล่งกำเนิดแสงด้วยการตรวจผลการอธิบายแหล่งกำเนิดแสงและวาดภาพแหล่งกำเนิดแสงตามใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง
2.วัดผลการทดลองการเดินทางของแสงจากใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2 โดยยึดเกณฑ์ได้ถูกต้อง

ประเมินผล
1.ประเมิลผลการอธิบายแหล่งกำเนิดแสงพบว่านักเรียน.....คนอธิบายแหล่งกำเนิดแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ
2.ประเมิลผลการทดลองการเดินทางของแสงพบว่านักเรียน.....คนทดลองการเดินทางของแสงไม่ได้แก้ไขด้วยการอธิบายให้ฟังอีกรอบ

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1.1หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ป.4
1.2ประเด็นคำถาม
1.3ใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่1
2.1หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ป.4
2.2 ประเด็นคำถาม/อุปกรณ์ทดลอง
2.3.ใบกำหนดงานที่1กิจกรรมที่2
บันทึกผลหลังสอน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


ใบกำหนดงานที่1เรื่องการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด
กิจกรรมที่1แหล่งกำเนิดแสง
ให้นักเรียนเขียนคำตอบที่ถูกต้องลงในตารางที่กำหนดให้
แหล่งกำเนิดแสงตามธรรมชาติ
แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น

ใบกำหนดงานที่1เรื่องการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิด

กิจกรรมที่2 ทดลองการการเดินทางของแสง
ตารางบันทึกผลการทดลอง
ลักษณะการตั้งแผ่นกระดาษ
ผลการสังเกตเปลวเทียนไขผ่านรูบนแผ่นกระดาษ


เห็น
ไม่เห็น
1.รูบนแผ่นกระดาษทั้ง 3 แผ่นตรงกัน


2.เมื่อเลื่อนแผ่นกระดาษแผ่นที่1


3.นำกระดาษแผ่นที่1ออก


4.เมื่อเลื่อนกระดาษแผ่นที่2


5.นำกระดาษแผ่นที่2ออก


6.เมื่อเลื่อนกระดาษแผ่นที่3


7.นำกระดาษแผ่นที่3ออก


สรุปผลการทดลอง.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อปฏิบัติของนักศึกษาระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
1. แต่งเครื่องแบบนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
2. ลงเวลามาทำงาน เวลากลับและลงลายมือชื่อในใบลงเวลาฝึกงานทุกวัน
3. ในกรณีที่จำเป็นไปปฏิบัติงานไม่ได้ ให้ส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาและเก็บใบลาที่ผู้บังคับบัญชาอนุญาตแล้วนำมาแสดงต่ออาจารย์ นิเทศก์อีกครั้งหนึ่ง
4. ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยฝึกสอนนั้นโดยเคร่งครัด
5. ห้ามมิให้เปิดเผยความลับของสถานที่ที่นักศึกษาไปฝึกสอน
6. ให้บันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันลงในเอกสารฝึกสอน และมอบให้ผู้ควบคุมการฝึกงานตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะและลงรายชื่อกำกับทุกสัปดาห์
7. เสนอเอกสารการฝึกสอนให้อาจารย์นิเทศตรวจทุกครั้ง ที่อาจารย์นิเทศก์ไปทำการนิเทศก์
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาหญิง
1. กรณีทรงผมสั้นหวีให้สุภาพ ถ้าผมทรงยาวต้องรวบรัดเครื่องตกแต่งสีเข้มกลมกลืนกับผม ห้ามย้อมสีผมที่ต่างไปจากธรรมชาติ ตกแต่งใบหน้าดูสุภาพ ถ้าใส่ตุ้มหูจะต้องสภาพแนบหู
2.เสื้อเชิ้ตสีขาวเนื้อเรียบ ปราศจากรวดลาย ลูกไม้เกร็ดรัดตัว ขนาดตัวเสื้อและความยาวแขนเสื้อเหมาะสมกับรูปร่าง กรณีชุดพิธีต้องกลัดกระดุมคอสอดชายเสื้อไว้ในขอบกระโปรงพองามเปิดหัวเข็มขัดตรามหาวิทยาลัย
3. กระโปรงผ้าเนื้อเรียบหนาสีดำหรือกรมท่าเข็ม ถ้าเป็นกระโปรงทรงสั้นความยาวคลุมดุมเข่าลงมา 3 นิ้ว ถ้าเป็นกระโปรงทรงยาวจะต้องเหนือส้นเท้า 10 นิ้ว เป็นอย่างน้อยไม่ตกแต่งกระโปรงด้วย กระเป๋าเกล็ด ผ่า แหวก ใดๆทั้งสิ้น
4. รองเท้าคัดชูหุ้มหน้าและส้นเท้า
5. เสื้อสีประจำโปรแกรมวิชาห้ามใส่มาปฏิบัติงานในเวลา เฉพาะโปรแกรมวิชาศฺลปศึกษาและพลศึกษาจะใช้เฉพาะเข้าสอนภาคปฏิบัติเท่านั้น
โครงการครูสหกิจ
นักศึกษาคงทราบแล้วว่ารุ่นพี่ ปี 5 ของคณะครุศาสตร์ กำลังฝึกปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปี หรือ 2 ภาคเรียน ซึ่งผ่านมาแล้วเกือบ 1 ภาคเรียน ในการฝึกปฏิบัติการสอนครั้งนี้ เป็นการฝึกในโครงการ ครูสหกิจศึกษา ครูสหกิจคืออะไร ครูสหกิจเป็นโครงการที่สำนักงานการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) ทำโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาครูขาดแคลน โดยความร่วมมือกันระหว่าง สถานศึกษา และโรงเรียนที่ขาดแคลน หลักการ1. การปฏิบัติการสอนของนักศึกษาครูในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูให้เป็นไปโดยความสมัครใจของนักศึกษา

2. นักศึกษาครุที่จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นนักศึกษาครูหลักสูตร 5 ปี
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาได้แก่ภาคเรียนที่ 2 ของชั้นปีที่ 4 และภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 5
4. การนิเทศการสอนของนักศึกษาเป็นการดำเนินงานร่วมกับ 3 ฝ่าย ได้แก่ สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ในพื้นที่และครูผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียน
5. ค่าตอบแทนการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาในอัตรา 1,200 บาท/สัปดาห์ หรือ 4,800 บาท/เดือนโครงการนี้มีระยะดำเนินการ 2550-2553 แล้วแต่ว่ารัฐบาลจะอนุมัติให้ดำเนินการต่อหรือไม่ ก็คงต้องติดตามต่อไป
สิ่งที่อยากได้จากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
จากที่มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง โรงเรียน ฝึกปฏิบัติการสอนของปี 5 วันที่ 28 สิงหาคม 2552ได้มีการรวบรวมเสนอผลของการอภิปรายร่วมกันดังนี้สิ่งที่ผู้บริหารและอาจารย์พี่เลี้ยงอยากเห็นในตัวนักศึกษาฝึกสอน คือ
1 สุขภาพร่างกาย แข็งแรง สดชื่น กระฉับกระเฉง
2. มีการเตรียมการสอนอย่างดี มีสื่อที่สร้างขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แต่งกายเรียบร้อย ตั้งแต่ทรงผมจรดรองเท้า
4. นักศึกษาควรรู้กฎระเบียบหรือวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนที่ไปฝึกสอนและมีการปรับตัวที่ดี
5. อยากให้นักศึกษามีลักษณะเสนอตัวต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ ในโรงเรียน
6. อยากให้นักศึกษาไปโรงเรียนแต่เช้า และทำงานเต็มเวลา
7. ควรมีความรู้อื่น ๆ นอกจากวิชาเอก หมายถึงควรสอนได้หลากหลาย
8. อยากให้มีความคิดสร้างสรรค์ และแสวงหา สิ่งใหม่ ๆ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูในโรงเรียนบ้าง
9. อยากให้นักศึกษาฝึกสอนมีลักษณะ Love of Wisdom คือ ใฝ่รู้ มีความ Active พร้อมที่จะเข้าไปเรียนรู้งานต่าง ๆ

ระเบียบการฝึกประสบการร์วิชาชีพ

ระเบียบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษา 2
1.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องมีเวลาปฏิบัติงานครบ 2 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
2.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องแต่งการตั้งแต่เส้นผมจรดรองเท้า และใช้เครื่องแบบนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่แนบมา
3.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ต้องห้ามการพนัน อบายมุข สิ่งเสพย์ติดทุกอย่าง ชู้สาว รวมไปถึงการกระทำที่ผิดคุณธรรมทั้งในและนอกเวลาปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด
4.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องปฏิบัติตามคำตักเตือนและคำแนะนำของครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อาจารย์พี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศอย่างเคร่งครัด
5.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องไปโรงเรียนฝึกประสบการณ์ก่อนเวลาโรงเรียนเข้าอย่างน้อย 30 นาที และกลับที่พักหลังจากโรงเรียนเลิกแล้ว 30 นาที เป็นอย่างน้อย
6.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องลงเวลาการทำงานและกลับตามความเป็นจริงในบัญชีลงเวลาการทำงานที่โรงเรียนจัดไว้ให้
7.การขออนุญาตลาป่วย นักศึกษาจะต้องยื่นใบลาตามระเบียบของทางราชการต่อครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ ให้ส่งใบลาในวันที่ป่วยหรือวันแรกที่กลับมาทำการสอนหลังจากหายป่วยแล้ว
8.ในระหว่างเวลาราชการ ถ้านักศึกษามีความจำเป็นจะต้องออกนอกบริเวณโรงเรียนให้นักศึกษาอนุญาตจากอาจารย์พี่เลี้ยง หรือผู้บริหารโรงเรียน และปฏิบัติตามระเบียบการออกนอกบริเวณโรงเรียนตามระบุในสัญญาที่ทำไว้กับฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
9.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่นเดียวกับครูประจำการขั้นทดลองปฏิบัติงานจึงไม่มีสิทธิลากิจ ยกเว้นกรณีได้รับอนุญาตจากผู้บริหารโรงเรียน
10.นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องรายงาน ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ หรือผู้อำนวยการ และอาจารย์นิเทศทราบทันที ถ้ามีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักเรียน หรือ ตัวนักศึกษาเอง
11.นักศึกษาควรปรึกษาอาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับการทำแผนการสอน และต้องส่งแผนการสอนให้อาจารย์พี่เลี้ยงตรวจล่วงหน้าก่อนสอน 1 สัปดาห์
12.นักศึกษาที่เป็นประธานหน่วยฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จะต้องรายงานการมาสาย ขาด การลาป่วย ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ในโรงเรียนให้อาจารย์นิเทศทราบทุกครั้งที่มาทำการนิเทศ และสรุปเป็นลายลักษณ์อักษรส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์ในวันสัมมนาทุกครั้ง และวันปัจฉิมนิเทศ
13. นักศึกษาจะต้องมีการประชุมหารือ เพื่อวางโครงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่างตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเป็นประจำทุกสัปดาห์ และเลขานุการหน่วยฝึกต้องจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานการประชุมทุกครั้ง และส่งฝ่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวันสัมมนาและปัจฉิมนิเทศ
14. นักศึกษาฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ที่พักในบ้านพักของโรงเรียน จะต้องไม่นำบุคคลภายนอกมาค้างคืนในบ้านพัก การไปค้างคืนที่อื่นจะต้องแจ้งให้อาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องที่พักทรายอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง
15.ถ้านักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แม้นักศึกษาได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้วก็ยังไม่แก้ไขปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้นักศึกษาพ้นสภาพการฝึกประสบการณ์ ขั้นการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ในภาคเรียนนั้น
วิสัยทัศน์
โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ชวงสุวนิช) เป็นโรงเรียนปฏิรูปการศึกษา ที่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ เน้นนวัตกรรม สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมสู่การประกันคุณภาพ นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาสู่การศึกษาต่อ
ปรัชญาโรงเรียน
กลฺยาณการี กลยาณํ ปาปการีจปาปกํทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คำขวัญ
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำคุณภาพ
อุดมคติโรงเรียน
"สามัคคีคือพลัง"
นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียน
1.ส่งเสริม ปฏิรูปการศึกษา โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลและบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
2.พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ
3.ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม มาประกอบการจัดการศึกษาโดยพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการวิจัยและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4.พัฒนาสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา จัดวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการบริการ
5.พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6.ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมนำความรู้สู่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดแก่นักเรียน โดยชุมชนมีส่วนร่วม รวมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น
7.ส่งเสริม สนับสนุนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคนให้ได้รับการศึกษาต่อ

ภาพบุคลากรโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช)